ดูหน้า

การวิเคราะห์รากสาเหตุของปัญหา

การวิเคราะห์รากสาเหตุของปัญหา
(Root Cause Analysis)

COURSE CONTENT  | PUBLIC CALENDAR  | APPLY NOW
วันที่ 22 ตุลาคม 2561 |  Arize Hotel สุขุมวิท 26  (BTS พร้อมพงษ์)

อาจารย์ธนายุทธ สิรินุตานนท์ 
Productivity & HR Consultant

หลักการและเหตุผล

การวิเคราะห์รากสาเหตุ (Root Cause Analysis) คือ “การวิเคราะห์หาปัจจัยที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริง (Root Cause) ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหรือปรากฏการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น (Effect) ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน โดยไม่เกิดสภาพการณ์ตกหล่นและซ้ำซ้อน และไม่จินตนาการเอง” ดังนั้น Root Cause Analysis เปรียบเสมือนการมองเห็น “ผลกระทบ” และ “สาเหตุ” ในบางประเด็น แต่ยังไม่ด่วนสรุปทันทีว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่พยายามค้นหาข้อเท็จจริงที่ถูกต้องและสอดคล้องเพื่อค้นหาว่า “สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร

ปัญหาต่าง ๆ ของการทำงานในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งกระบวนการทำงานแบบอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ (Factory & Service)  ซึ่งทักษะการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause Analysis เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้วิธีการที่ตรงประเด็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้น การพัฒนาทักษะดังกล่าวส่งผลให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความเป็นระบบ มีขั้นตอนและมีเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ จึงนับว่าการพัฒนาทักษะดังกล่าวเป็น “การป้องกันการแก้ปัญหาแบบไม่สมเหตุผล” ที่เกิดจากการนึกคิดเองของผู้ปฏิบัติงานไปด้วยในตัว

การวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause Analysis ให้เกิดประสิทธิภาพสูงต้องมีเครื่องมือ เทคนิค และข้อกำหนด 7 ประการ โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 

  • หลักการระดมสมองอย่างถูกต้อง (Brainstorming)
  • แผนผังต้นไม้ประเภท Why – Why Diagram
  • เทคนิคการตั้งคำถามทำไม 5 ครั้ง (5 Why Technique)
  • ข้อกำหนด 1: ความชัดเจนกับปัญหา (Specification)
  • ข้อกำหนด 2: การยืนยันความถูกต้องประเภทที่ 1 (MECE Technique Type I)
  • ข้อกำหนด 3: การยืนยันความถูกต้องประเภทที่ 2 (MECE Technique Type II)
  • ข้อกำหนด 4: การค้นหาถึงรากสาเหตุ (Root Cause with 5 Why Technique)
  • ข้อกำหนด 5: ความสมเหตุสมผลแบบแท้จริงและไม่แท้จริง (Reasonableness Cause)
  • ข้อกำหนด 6: การหลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ (Emotional Cause)
  • ข้อกำหนด 7: การหลีกเลี่ยงสาเหตุนามธรรม (Abstract Cause)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาด้วย Root Cause Analysis และเรียนรู้หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์รากสาเหตุของปัญหา โดยเรียนรู้ด้วยโมเดล “สาเหตุและผลกระทบ” (Cause and Effect) และ “ความมีเหตุผล” (Reasonableness) 
  • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาด้วย Root Cause Analysis ด้วยการใช้เครื่องมือ เทคนิคและข้อกำหนดที่จำเป็น 7 ประการ โดยเรียนรู้ด้วยปัญหาจริงของผู้เรียน

รายละเอียดเนื้อหาตามหลักสูตร

Module - 1 พื้นฐานของการวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause Analysis
  • กิจกรรมปรับคลื่นความถี่ของสมองก่อนการเรียนรู้
  • กระบวนการทำงานของสมองและพฤติกรรมแก้ปัญหา
  • ความหมายของการวิเคราะห์ด้วย Root Cause Analysis
  • หัวใจสำคัญของการวิเคราะห์ Root Cause Analysis

           สาเหตุ ผลกระทบ (Cause  Effect)
           ความมีเหตุผล (Reasonableness)
           การตั้งคำถามทำไม 5 ครั้ง (5 Why Technique)

  • ความสำคัญของการระบุความชัดเจนของปัญหา
  • ข้อกำหนดสำคัญสำหรับการระบุปัญหา
  • กรณีศึกษา: เรียนรู้การระบุปัญหาให้ชัดเจน
Module - 2 เครื่องมือและเทคนิคของการแก้ปัญหาด้วย Root Cause Analysis
  • หลักการระดมสมองอย่างถูกต้อง (Brainstorming)
  • แผนผังต้นไม้ประเภท Why – Why Diagram
  • เทคนิคการตั้งคำถามทำไม 5 ครั้ง (5 Why Technique)
  • ตารางประกอบการตั้งคำถาม 5 ครั้ง (5 Why Table)

           ระดับของสาเหตุและมาตรการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

Module - 3 ข้อกำหนด 7 ประการของการแก้ปัญหาด้วย Root Cause Analysis
  • ข้อกำหนด 1: ความชัดเจนกับปัญหา (Specification)
  • ข้อกำหนด 2: การยืนยันความถูกต้องประเภทที่ 1 (MECE Technique Type I)
  • ข้อกำหนด 3: การยืนยันความถูกต้องประเภทที่ 2 (MECE Technique Type II)
  • ข้อกำหนด 4: การค้นหาถึงรากสาเหตุ (Root Cause with 5 Why Technique)
  • ข้อกำหนด 5: ความสมเหตุสมผลแบบแท้จริงและไม่แท้จริง (Reasonableness Cause)
  • ข้อกำหนด 6: การหลีกเลี่ยงสาเหตุจากสภาพจิตใจ (Emotional Cause)
  • ข้อกำหนด 7: การหลีกเลี่ยงสาเหตุนามธรรม (Abstract Cause)
  • Activity I: การวิเคราะห์ Root Cause Analysis ของผู้เรียน
Module - 4 การกำหนดมาตรการแก้ปัญหาหลัง Root Cause Analysis
  • เครื่องมือประกอบการสร้าง Corrective Action Plan
  • Activity II: การกำหนดมาตรการแก้ปัญหาหลังการทำ Activity I
Module - 5 การพัฒนาทักษะ Root Cause Analysis อย่างยั่งยืน
  • แนวคิดของการเลือกปัญหาในกระบวนการ
  • แนวคิด “Knowledge is not Understanding”

เต็มใจให้คำปรึกษา : คุณอ้อย (ฝ่ายดูแล Public Training)

 public@bananatraining.com

 090-984-2910

 


04 ตุลาคม 2561

ผู้ชม 48966 ครั้ง

Engine by shopup.com